ครูดี

การเป็นครูที่ดีมีหลักการ ดังนี้

1. ครูต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขันและยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ    เป็นการสร้างไมตรีโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไร แต่ได้ผลอย่างมากมายได้ความมีมิตรไมตรี ผู้เรียนจะมีขวัญกำลังใจที่ดี

2. มีความยุติธรรมและวินัย ครูต้องยุติธรรมต่อลูกศิษย์  ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง

3. ต้องเฉลียวฉลาดรู้เรื่องวิชาการเป็นอย่างดี ครู คือ กูรู(ผู้รู้) รู้ในที่นี้ยังหมายถึงจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้อย่างถาวร โดยอาศัยการเน้นย้ำ ให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแก่ศิษย์

4. ต้องมีความเมตตากรุณา และอดทน เด็กทุกคนแตกต่างกันในภูมิหลังของ ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ฐานะทางการเงิน ฯลฯ ในความแตกต่างเหล่านี้ครู ต้องอาศัยความอดทน อดกลั้น เพื่อพัฒนาให้เด็กมีความเจริญงอกงาม ทั้งกาย วาจา ใจ

5. สร้างตัวอย่างที่ดี ดังคำที่ว่า “ครูคือ แม่พิมพ์ของชาติ”  ครูต้องเป็นตัวอย่างที่อยู่ในใจของเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้านให้เด็กยึดถือ, ปฏิบัติ

6. เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์ทุกคนในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล ครูต้องเข้าใจว่าความแตกต่างไม่ใช่ ความแตกแยก หน้าที่ครูต้องชี้ให้เห็นถึงแนวคิด เพื่อผู้เรียนจะได้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีในชีวิตของเขา  ครูต้องยอมรับในความสามารถของลูกศิษย์ทุกคนแต่ละคนที่มีอยู่รู้จักชมเชยและให้กำลังใจ

7. พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ยากลำบากใจ ครูต้องเป็น Coach  ที่ดี เป็นผู้ให้คำชี้แนะสั่งสอน เมื่อลูกศิษย์ หรือแม้กระทั่งบุคคลอื่นที่มีปัญหา ทั้งนี้เพราะครูคือผู้รู้ ผู้ซึ่งบุคคลทั่วไปให้การยอมรับนับถือ

8. อย่ายอมแพ้จงเชื่อมั่นในทุกสิ่ง ต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเราเอง และความสามารถในตัวของบุคคลอื่น บางที่เราต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลอื่น เมื่อเราแก้ปัญหาไม่ได้ จะต้องมีคนที่แก้ได้ เพราะปัญหาทุกอย่างมีทางแก้เสมอ

9. ให้รางวัลเป็นสิ่งจูงใจ และให้คำชมสม่ำเสมอ “ถูกแล้ว ดีมาก เยี่ยม ครูต้องคอยให้กำลังใจลูกศิษย์ แต่ละคำชมที่ออกมาอย่างจริงใจ จะเป็นพลังอันมหาศาลต่อศิษย์

ครูที่ดีต้องมี 3 สุ
1. สุวิชาโน มีความรู้ดี
2. สุสาสโน สอนดี มีเทคนิค ตั้งใจสอน
3. สุปฏิปันโน มีความประพฤติดี

ครูดีต้องมี 4 เต็ม
1. สอนให้เต็มหลักสูตร
2. สอนให้เต็มเวลา
3. สอนด้วยความเต็มใจ
4. สอนเต็มความสามารถ

ลักษณะของครูที่ไม่ควรกระทำ
1. ครูมาสาย คติประจำใจ คือ  สอนน้อยหน่อย สายมากหน่อย อร่อยกำลังเหมาะ

2. ครูค้าขาย คติประจำใจ คือ ครูที่มีความเพียร ต้องทำโรงเรียนให้เป็นตลาด ครูที่มีความสามารถ ต้องทำตลาดให้เป็นโรงเรียน

3. ครูคุณนาย คติประจำใจ คือ  อยู่อย่างคุณนาย สบายทุกอย่าง หนทางสะดวก พรรคมากมี

4. ครูสุราบาล คติประจำใจ ศุกร์เมา เสาร์นอน อาทิตย์ถอน จันทร์เกียจคร้าน อังคารหยุด พุธลา พฤหัสมาก้มหน้าไม่สู้คน

5. ครูเกียจคร้าน คติประจำใจ สอนมั่ง ไม่สอนมั่ง สตางค์เท่าเดิม
6. ครูหัวโบราณ คติประจำใจ  คิดเป็นก็คิดไป แก้ปัญหาเป็นก็แก้ปัญหาไป แต่ฉันจะสอนอย่างไร ใครอย่ามายุ่งกับฉัน

7. ครูปากม้า คติประจำใจ  นินทาวันละมาก ๆ ปากผ่องใส

8. ครูหน้าใหญ่ คติประจำใจ ใหญ่ที่โรงเรียน ไปเป็นเสมียนที่อำเภอ เห่อเจ้านายได้สองขั้น

9.ครูไร้อาย  ทำงานไม่เกี่ยงงอน สอนเต็มหลักสูตรอย่างเคร่งครัด

จรรยาบรรณครู 9 ประการ

 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชชาชีพครูแห่งชาติ มีอานาจหน้าที่ควบคุมสอดส่องจรรยาของครูตาม พ.ร.บ. ครู 2488 ได้กาหนดระเบียบว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัย ตามระเบียบประเพณีของครู ครั้งสุดท้าย และประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2539 มีข้อกำหนดไว้ใน จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ ดังนี้

1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กาลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

4. ครูต้องไม่กระทาตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทาการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ                                                                                                                   

6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองอยู่เสมอ

7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู

8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นาในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และ
วัฒนธรรมไทย



ข้ามไปยังทูลบาร์